FAQ

Website DG-Net
  • การกรอกข้อมูลลงใน DG-Net ใครเป็นคนกรอกข้อมูล ?
    agent จะเป็นคนกรอกข้อมูล แต่บาง agent จะให้ shipping เป็นคนที่กรอกข้อมูลแทน ซึ่งก็สามารถทำได้ถ้าในกรณีที่ทาง agent ตกลงกับทาง shipping ให้เป็นแบบนั้น
  • วิธีการกรอกข้อมูลลงใน DG-Net ?
    เข้าเวบไซต์ www.dg-net.org
  • ลูกค้า Key ข้อมูลในระบบซ้ำกัน จะขอแจ้งลบ ?
    เมล์แจ้งปัญหาไปที่ dg@dg-net.org พร้อมเลขที่อ้างอิง
  • ปัญหาการกรอกข้อมูลเช่น กรอกข้อมูลไม่ผ่าน เวบไซต์มีปัญหา ?
    แจ้งแผนก IT Support ตามเบอร์ติดต่อ
  • เมื่อทำการ Log in ในระบบแล้ว แต่ปรากฏว่าระบบไม่อนุญาตให้เข้าไปใช้งานได้ จะทำอย่างไร ?
    ในระบบจะฟ้องว่า ให้เพิ่มผู้ใช้งานใหม่ได้โดย ให้ผู้ใช้งานสร้าง User name และ Password ได้ด้วยตัวเอง และทำการ Log in เข้ามาใช้งานใหม่อีกครั้ง โดยวิธีการจะอยู่ในระบบที่จัดตั้งไว้ให้
  • เมื่อทำการกรอกข้อมูลและได้ทำการ Log in ไปแล้ว แต่พบว่าข้อมูลผิดพลาด จะทำการแก้ไขได้อย่างไร ?
    ในระบบจะฟ้องว่า ให้เพิ่มผู้ใช้งานใหม่ได้โดย ให้ผู้ใช้งานสร้าง User name และ Password ได้ด้วยตัวเอง และทำการ Log in เข้ามาใช้งานใหม่อีกครั้ง โดยวิธีการจะอยู่ในระบบที่จัดตั้งไว้ให้
    ช่วงประมาณเดือนพฤษภาคม ทางฝ่ายระบบ DG-Net จะทำการติดตั้งการกรอกข้อมูลเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อเรียกว่า Application (อยู่ในระหว่างการจัดทำ) หน้าตาจะคล้ายกับระบบ WMS ที่ใช้ ในการค้นหาสถานะของสินค้า และในการกรอกข้อมูลนั้น ผู้ใช้งานสามารถทำการแก้ไขได้ทันทีหากมีข้อผิดพลาด จะช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน และสะดวกต่อผู้ใช้งานมากขึ้น
  • ลูกค้าสามารถตรวจสอบข้อมูลตู้ที​่เข้ามาฝากเก็บในหน่วยงานคลังสิ​นค้าอันตราย ผ่านเว็บ DG-Net ได้หรือไม่
    ลูกค้าสามารถเช็คข้อมูล ได้จากเมนู " Container Tracking " ภายในเว็บไซต์ ซึ่งมีรายะเอียดเบื้องต้น เช่น วันที่ตู้ลากเข้า-ออก , สถานะตู้ , การชำระเงิน ฯลฯ หรือ สามารถสอบถามทางแผนกลูกค้าสัมพั​นธ์ 038-404700 ต่อ 1001,1002
  • กรณีที่ไม่พบข้อมูลชื่อเรือ / Voy เรือ ในแบบฟอร์ม สอ. ใน DG-net
    ลูกค้าสามารถโทรมาแจ้ง ชื่อเรือ / Voy เรือ กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้​องของหน่วยงานคลังสินค้าอั​นตรายได้
  • ปัญหาอื่น ๆ ?
    วิธีการ ขั้นตอนต่างๆจะระบุอยู่ในระบบ DG-NET ทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ทำตามขั้นตอนที่ระบบได้จัดทำไว้ให้ หรือ หากต้องการทราบเกี่ยวกับประกาศ หรือข้อมูลต่างๆของทางคลังสินค้าอันตราย สามารถเข้าไปดูในเวบไซด์ได้ที่ www.dg-net.org หรือสอบถามข้อมูลโดยการพิมพ์มาได้ที่ email address dg@dg-net.org
การชำระเงินและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
  • เช็คราคาค่าภาระฝากตู้สินค้า ?
    แจ้งเบอร์ตู้เพื่อเช็ค status ตู้จากระบบ DG-net เพื่อเช็คว่าเป็นตู้ชนิดไหน มีจำนวนกี่ตู้ เข้ามาวันที่เท่าไร และสถานะของตู้สินค้า ในกรณีที่ไม่พบตู้สินค้าในระบบ สาเหตุมาจากทางสายเรือยังไม่ได้กรอกข้อมูลตู้สินค้าลงในระบบ DG-Net -เช็คราคาจาก Tariff rate ในเวบไซต์และ +vat 7% หรือสอบถามค่าใช้จ่ายที่แน่นอนจากเจ้าหน้าที ในกรณีที่ลูกค้าต้องการหักภาษี ณ.ที่จ่าย 3% ต้องทำเอกสารหัก ณ ที่จ่ายมาด้วย
  • การชำระเงินค่าภาระฝากตู้สินค้า ?
    มี 2 วิธีคือ
    1.มาชำระด้วยตัวเองด้วยเงินสดหรือ เช็คเงินสดที่ DG หรือ ที่ ลาดกระบัง ตามความสะดวกของลูกค้า
    2.โอนเงินผ่านธนาคาร และ แฟกซ์ใบ Pay in มาที่ DG พร้อมทั้งเอกสาร BL และชื่อ เบอร์ที่สามารถติดต่อได้ เมื่อเจ้าหน้าที่รับใบ pay in แล้วจะแฟกซ์ใบเสร็จไปให้ลูกค้า ทางลูกค้าสามารถนำสำเนาใบเสร็จไปแลกกับใบเสร็จตัวจริงที่ลาดกระบังหรือที่ DG ก็ได้โดยขอให้แจ้งกับทางเจ้าที่หน้าด้วยว่าสะดวกมารับที่ไหน เอกสารที่ใช้ในการเข้ามาชำระเงิน เอกสาร BL (สำเนาก็ได้) และ ชื่อที่อยู่ที่ต้องการออกใบเสร็จ และเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี
  • เมื่อสินค้า DG เข้ามาจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ?
    ในกรณีมารับตู้ที่ DG จะมีค่า Extra movement + Lift on ในกรณีที่พักสินค้าเกิน 2 วันจะมีค่า Rent - ในกรณีที่โอนตู้มาที่ลาดกระบัง จะมีค่า Extra movement + Lift on ในกรณีที่พักสินค้าเกิน 2 วันจะมีค่า Rent ถ้ามาโดยรถไฟ จะ+ ค่า Rail transfer 315 บาทโดยส่วนนี้ agent จะเป็นคนรับผิดชอบ - ในกรณีที่ลงเรือ Barge มาจะมีค่า Extra movement ขาเข้า + Extra movement ขาออก ในกรณีที่พักสินค้าเกิน 2 วันจะมีค่า Rent
  • ทำไมต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการนำสินค้า DG เข้ามา ?
    ตามระเบียบท่าเรือใหม่นั้น จะให้ตู้สินค้า DG ที่นำเข้ามาจากท่าเรือแหลมฉบังจะต้องเข้ามาฝากไว้ที่ คลัง DG ทุกตู้ ดังนั้นเมื่อตู้สินค้าเข้ามา DG นั้นจะเกิดค่าใช้จ่ายขึ้นมาคือ Extra movement (ลากตู้จากท่าเรือมา DG และยกลง) และค่า Lift on (ค่ายกสินค้าขึ้นมาเพื่อนำออกจาก DG)
  • จะขอดูราคา Tariff rate และระเบียบท่าเรือได้จากที่ไหน ?
    สามารถเข้าไปดูใน website www.dg-net.org
  • ต้องการให้ส่งค่าใช่จ่ายค่าภาระฝากตู้สินค้า ?
    แจ้งเบอร์ตู้ และอีเมล์หรือเบอร์แฟกซ์เพื่อที่จะส่งข้อมูลไปให้ - ติดต่อฝ่ายบัญชีเพื่อขอดึงข้อมูลค่าใช้จ่ายตู้สินค้าจากระบบ
  • ในกรณีที่เตรียมของออกแล้ว แต่ขอ Cancel เลื่อนเป็นออกของวันอื่นแทน สามารถต่อค่า Rent ได้เลยไหม ?
    สามารถเลื่อนไปออกของวันอื่นได้เลย โดยคิดค่า rent เพิ่มตามปกติ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการจ้างคนงานเพิ่ม
  • จะสอบถามว่าตู้สินค้านี้มีการชำระเงินไปหรือยัง ?
    แจ้งเบอร์ตู้สินค้ากับทางเจ้าหน้าที่
  • ค่าภาระฝากตู้สินค้า (Extra movement, Lift on/off, rent) ใครเป็นคนรับผิดชอบ ?
    ลูกค้า (Shipper,importer) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย แต่ส่วนของค่า transfer ตู้สินค้ามาทางรถไฟ agent จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ = 315 บาทต่อตู้
  • ถ้าทาง agent เคลียร์ของออกช้าทำให้เกิดค่า Rent ขึ้น ใครจะเป็นคนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ?
    ขอให้ทางลูกค้าไปเจรจากับ agent ในกรณีที่ตู้สินค้าที่มีค่า rent โดยเกิดจาก agent เอง
  • ตู้สินค้าที่มาพักที่ DG สามารถมาพักได้กี่วันโดยที่ไม่ต้องเสียค่า rent ?
    ตู้สินค้าที่มาพักสินค้าที่ DG สามารถพักได้ 2 วัน โดยไม่เสียค่า rent นับจากวันที่เรือเข้า (เริ่มเก็บค่า rent วันที่ 3 นับจากวันที่เรือเข้า)
  • สามารถคืนตู้ได้วันไหนโดยที่ไม่เสียค่า rent ?
    สามารถคืนตู้ได้ภายใน 12 ชม ก่อนเรือเข้า (ต้องเช็ควันที่เรือเข้าก่อน)
  • ค่า DG Surcharge คืออะไร และจะเริ่มเก็บวันไหน ?
    ค่า Surcharge เป็นค่าการบริการในด้านระบบ IT ซึ่งทาง JWD ได้ทำระบบขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าเกิดความสะดวกในการใช้บริการมากขึ้น - จะเริ่มเก็บตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นต้นไป
  • การขอ OT พนักงานหน่วยงานคลังสินค้าอั​นตราย
    ให้ลูกค้าทำการขอล่วงเวลากั​บนายตรวจที่ด่านศุลกากร จากนั้นให้นำมาลงชื่อที่ในสมุ​ดล่วงเวลาที่หน้าเคาท์เตอร์​ชำระเงินของหน่วย งานคลังสินค้าอันตราย
ด้านการปฎิบัติงาน (Operation)
  • ตู้สินค้าเปิดตู้แล้วหรือยัง ?
    แจ้งเบอร์ตู้สินค้าเพื่อเข้าไปเช็ค status จากระบบ DG-Net - เช็คอัพเดตเปิดตู้จาก เจ้าหน้าที่ ฝ่าย operation ในกรณีที่ไม่พบตู้สินค้าใน List อัพเดตเปิดตู้ ให้สอบถามลูกค้าก่อนว่า agent ส่งใบเปิดตู้มาที่ DG หรือยัง ถ้า ยังให้ทาง agent ส่งใบเปิดตู้มาก่อนจึงจะดำเนินการได้ ถ้า agent ส่งใบเปิดตู้มาแล้ว แจ้งไปยังฝ่ายเจ้าหน้าที่ฝ่าย operation ทันที เบอร์ติดต่อ
  • เวลาคืนตู้ต้องทำใบ ชอ. หรือไม่และใครเป็นคนทำ ?
    ต้องทำใบ ชอ. ก่อน โดย agent จะต้องเป็นคนทำ
  • จะเข้ามาคืนตู้ ต้องนำเอกสารอะไรไปบ้าง ?
    ใบกำกับตู้ และ MSDS
  • ลูกค้ามารอรับของนานแล้ว (LCL) ยังรับของไม่ได้ ?
    ตรวจสอบดูว่าทำตามขั้นตอนหรือไม่ การรับของนั้นจะต้องมาชำระเงินก่อน และเช็คตู้ก่อนว่าเปิดตู้หรือยัง จึงจะสามารถเข้ามารับของได้ ถ้าทำตามขั้นตอนแล้วยังไม่ได้รับของ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่
  • การเตรียมของ?
    ลูกค้าควรเข้ามาเตรียมของที่ DG ด้วยตัวเองพร้อมเอกสารใบขนสินค้า เนื่องจากการเตรียมสินค้าผ่านทางโทรศัพท์ โดยที่เจ้าพนักงานไม่เห็นเอกสาร และยืนยันว่าเป็นเจ้าของสินค้านั้นจะมีความเสี่ยงมาก เนื่องจากขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของศุลกากร ถ้าเอกสารผิดพลาด ทำให้เกิดการเตรียมของผิดได้
  • ที่ DG ทำงานตลอด 24 ชม หรือไม่ ในกรณีที่ขอให้เปิดรับของหลังเวลางาน จะมีค่า OT ไหม ?
    ส่วนของ Operation ทำงานทุกวันตลอด 24 ชม. สามารถขอให้เอาของออกหรือรับของได้ตลอด โดยไม่เสียค่า OT - ในส่วนของเค้าเตอร์ด้านหน้าจะทำงานตามเวลาปกติคือ จันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่ 8.00น.-17.30น.
  • การตรวจสอบว่าตู้สินค้าจะเข้​ามาที่ คลังสินค้าอันตราย หรือไม่ ในกรณีที่ไม่พบข้อมูลจาก DG-Net
    ทำการติดต่อเจ้าหน้าที่​ของทางคลังสินค้าอันตราย โดยแจ้งเบอร์ตู้ ,ชื่อเรือ, Voy เรือ, วันที่เรือเข้า เพื่อให้เจ้าหน้าที่เช็คว่าตู้​นี้มี plan เข้ามาที่คลังสินค้าอันตราย หรือไม่
  • สอบถามว่าสินค้าเป็น สินค้าอันตราย หรือไม่
    มี 2 วิธี คือ
    1. สามารถส่งเอกสาร MSDS มาทาง dg@dg-net.org เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่​ทำการตรวจสอบ
    2. สามารถโทรสอบถามได้กับเจ้าหน้​าที่ โดยลุกค้าจะต้องแจ้งชื่อสารเคมี หมายเลข UN
  • กรณี ลูกค้าต้องการเร่งเปิดตู้สินค้า
    ให้ลูกค้าทำการตรวจสอบเอกสารต่​างๆที่เกี่ยวข้อง ( อาทิเช่น เอกสาร Manifest , ใบขออนุญาติเปิดตู้สินค้า) กับทางเจ้าหน้าที่ โดยลำดับการเปิดตู้สินค้าจะเป็​นไปตามเอกสารที่ทางคลังสินค้าอั​นตราย ได้รับจากเอเย่นต์
  • ขั้นตอนการปล่อยสินค้าของคลังสิ​นค้า
    ลูกค้าจะต้องทำการชำระเงินกับที​่เคราท์เตอร์ชำระเงิน หลังจากนั้นจะได้รับการ์ด ( ใบสั่งปล่อยสินค้า) ให้นำการ์ดมายื่นที่ออฟฟิสคลั​งสินค้าอันตราย
    จากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้ใบปล่​อยสินค้า ( Cargo Announcement Card) กับลูกค้า เพื่อนำไปยื่นกับ checker ในคลัง เพื่อรอรับสินค้าในลำดับต่อไป
ข้อมูลเรือเข้า (Shipping Schedules)
  • เช็คว่าเรือเข้า-ออกเมื่อไร ?
    มี 2 วิธี คือ
    1. โทรไปเช็คตารางเรืออัพเดตกับเจ้าหน้าที่ โดยแจ้งชื่อเรือ ท่าเรือและ เลขที่ Voy
    2. เข้าไปที่เวบไซต์ของท่าเรือต่างๆ
  • เช็ค closing time ?
    1. เช็คตารางเรือ
    2. ดูเวลาที่เรือเข้า closing time จะเป็นก่อนเวลาเรือเข้า 12 ชม