ข่าวและกิจกรรม

ผงะน้ำทะเลเปรี้ยวสุดรอบ 300 ล้านปี หวั่นสัตว์น้ำสูญพันธุ์ครั้งใหญ่
2555-03-09


   รายงานดังกล่าวอยู่ในวารสารไซเอินซ์ระบุว่า ขณะนี้ค่าพีเอช (pH) อันเป็นมาตราใช้ในการวัดความเป็นกรด/ด่าง ลดลงประมาณ 0.1 หน่วยต่อศตวรรษ หมายถึงเป็นกรดมากขึ้น ตัวเลขนี้อาจฟังดูน้อยนิด อย่างไรก็ตาม แม้แต่ช่วงเวลาที่โลกมีความผันผวนของค่าพีเอชในมหาสมุทรที่สุด หรือเมื่อ 33 ล้านปีที่แล้ว ก็ใช้เวลาถึง 3,000 ปีกว่าค่าพีเอชจะลดลงทั้งหมด 0.5 หน่วย ซึ่งถือว่ารวดเร็วแล้ว แสดงว่าในสมัยปัจจุบันโลกมีความแปรปรวนกว่ามาก ทีมวิจัยยังพบว่าทุกวันนี้ความเป็นกรดของมหาสมุทรยังสูงขึ้นเร็วที่สุดในรอบ 300 ล้านปีอีกด้วย

   ความเป็นกรดในทะเลเกิดขึ้นเนื่องจากก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศโลกเริ่มแทรกซึมเข้าไปในน้ำทะเล ปรากฏ การณ์นี้จะทำให้สัตว์จำพวกปะการังและหอยมีจำนวนลดลง ขณะที่อุณหภูมิน้ำทะเลที่พุ่งสูงขึ้นเป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลประเภทอื่นเช่น กัน ทั้งนี้ โลกเคยเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในทะเลมาแล้วเมื่อ 252 ล้านปีก่อน โดยค่ากรดที่เพิ่มขึ้นประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ได้คร่าชีวิตสัตว์ทะเลโลกไปถึง ร้อยละ 96
   ผลวิจัยฉบับนี้คล้ายคลึงกับรายงานของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อปี 2553 ที่กล่าวว่า การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหินโดยมนุษย์ สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในทะเลใหญ่หลวงกว่าที่เคยเข้าใจกัน
ที่มา : http://www.marinerthai.com